ทำเนียบขาวเปิดเผยร่างงบประมาณมูลค่า 4.4 ล้านล้านสำหรับปีงบประมาณ 2019 (1 ต.ค. 2018- 30 ก.ย. 2019) ซึ่งจะมีการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศ, โครงการก่อสร้าง (รวมงบสร้างกำแพงอเมริกา-เมกซิโก) และลดค่าใช้จ่ายด้านประกันสุขภาพ เช่น Medicare และ Medicaid ซึ่งงบประมาณนี้จะต้องถูกส่งให้สภาคองเกรสพิจารณา ก่อนมีผลบังคับใช้
- ร่างงบประมาณได้ทำการประมาณว่างบประมาณในปี 2019 จะขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น 9.8 แสนล้านดอลลาร์ฯ (4.7% ของ GDP) จากเดิมที่ประมาณการไว้ในปีก่อนที่ 5.3 แสนล้านดอลลาร์ฯ
- สำหรับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบุว่ารัฐจะลงทุน 2 แสนล้านดอลลาร์ฯ ในระยะเวลา 10 ปี เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลท้องถิ่นและภาคเอกชนลงทุน ซึ่งทางทำเนียบขาวประเมินว่าจะส่งผลให้เกิดการลงทุนรวมทั้งหมด 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ฯ
- ในร่างดังกล่าวนำเสนอแผนรายได้และรายจ่ายในอีก 10 ปีข้างหน้าด้วย ซึ่งประเด็นสำคัญของร่างงบประมาณคลังนี้ประกอบไปด้วย
- งบประมาณนี้จะลดการขาดดุลงบประมาณ 3.6 ล้านล้านดอลลาร์ฯภายใน 10 ปี (จากรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจาก การใช้จ่ายภาครัฐและTax Cut 1.2ล้านล้านดอลลาร์ฯ หักลบด้วยการลดรายจ่ายส่วนกลาง 3.7ล้านล้านดอลลาร์ฯ, การลดรายจ่ายส่วนของสงครามและภัยพิบัติ 8 แสนดอลลาร์ฯและ, การลดรายจ่ายด้านดอกเบี้ย 3 แสนดอลลาร์ฯ )
- งบประมาณฉบับนี้ระบุว่าการขาดดุลของรัฐบาลสหรัฐฯจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากสมมติฐานว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะขยายตัวได้ที่ 3.0% ต่อปี มีผลให้ภายในปี 2028 รัฐบาลสหรัฐฯจะขาดดุลการคลังเพียง 1.1% ของ GDP (เมื่อเทียบกับงบคลังในปีงบประมาณ 2019 ที่จะขาดดุลการคลัง 4.7% ของ GDP)
- และด้วยงบขาดดุลที่ลดลงประกอบกับสมมติฐาน GDP ที่ 3.0% ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จาก 77% ในปัจจุบัน จะลดลงมาที่ 73% ในปี 2028
อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อ้างอิงงบประมาณที่เสนอโดยประธานาธิบดี
The Key Numbers in the President’s Budget (Adjusted for Timing Shifts)
เบื้องต้น Committee of Responsible of Federal Budget หรือ CRFB ซึ่งเป็นเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรได้ตั้งข้อสังเกตว่า
(1) ร่างงบประมาณคลังฉบับนี้ให้สมมติฐานของ GDP สูงเกินไป (ที่ 3.0%) ซึ่งในความเป็นจริงค่าเฉลี่ยของ GDP สหรัฐฯน่าจะอยู่ที่ ประมาณ 2.0%
(2) รัฐบาลกำหนดให้การขาดดุลการคลังเร่งตัวสูงในช่วง 2-3 ปีแรกก่อนที่จะลดอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นไป และให้งบขาดดุลปรับเพิ่มขึ้นในแต่ละปีไม่ถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ฯ โดยในปี 2017 งบขาดดุลที่ 6.65 แสนล้านดอลลาร์ฯ ก่อนจะไปพีคที่ 9.84 แสนล้านดอลลาร์ฯ และค่อยๆลดลงเรื่อยๆจนแตะ 3.63 แสนล้านดอลลาร์ฯในปี 2028 ในรายองค์ประกอบงบที่ถูกปรับลดได้แก่ งบ Medicaid, Medicare, และงบที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการ ขณะที่งบที่ได้รับการปรับเพิ่มได้แก่ งบทหารและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการใหม่ๆที่ผลักดันโดย Republican
(3) ในแง่ของรายได้รัฐบาล ร่างงบประมาณนี้กำหนดให้สัดส่วนรายได้ต่ำเมื่อเทียบกับ GDP แต่ท้ายสุดให้รายได้โตสุดโต่งในปีท้ายๆ (ที่สำคัญได้ถูกกำหนดให้โตกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต)
Market Reaction ตลาดตีความว่า แผนงบประมาณนำไปสู่รายจ่ายที่เพิ่มขึ้น และตลาดยังไม่ Buy Idea ว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะสามารถควบคุมรายจ่ายได้ในระยะเวลา 10 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสองสามปีนี้ สังเกตได้ว่ารายจ่ายยังสูงขึ้นต่อเนื่อง อาจทำให้รัฐบาลต้องออกพันธบัตรเพิ่มขึ้น และทำให้งบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปีปรับตัวสูงขึ้นจาก 2.4%ในช่วงกลางเดือน ธ.ค. 2017 มาอยู่ที่ปัจจุบัน 2.86% จากการผ่านกฏหมายปฏิรูปภาษีซึ่งจะทำให้รัฐขาดดุลเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ฯในช่วงเวลา 10 ปี